หน้าเว็บ

Learning Log 5


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันที่ 5 เดือนกันยายน พ.ศ.2560

► ความรู้ที่ได้รับ

          วันนี้ในช่วงต้นคาบอาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งเป็นครึ่งวงกลม แล้วคิดคำศัพท์ต่อคำของเพื่อน โดยคำที่เราเลือกจะต้องออกเสียงเหมือนและความคล้องจองกับคำของเพื่อน จะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ หลังจากนั้นก็คิดคำใหม่เพื่อให้เพื่อนคนถัดไปต่อคำจากเรา เช่น nose post  มด รถ cat fat ผีเสื้อ เรือ เป็นต้น


หลังจากเล่นแบบแรกเสร็จ ก็มีแบบที่สอง โดยแบบที่สองจะให้เราคิดคำภาษาไทยแล้วแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยจะเอาภาษาไหนขึ้นก่อนก็ได้เพื่อให้คล้องจองกับคำของเพื่อน เช่น ดอกไม้ flower เธอ you ปู crab map แผนที่ ผี ghost เป็นต้น



เมื่อเล่นเกมเสร็จอาจารย์ให้ทั้งห้องแบ่งเป็นสองกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มหาความรู้เกี่ยวนักทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา แล้วนำมาเขียนลงในกระดาษแผ่นใหญ่เพื่อนำเสนอ โดยกลุ่มของดิฉันได้ศึกษาทฤษฎีของ บรูเนอร์ ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์



บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของบรุนเนอร์ มีดังนี้ (Brunner,1963:1-54) 

ทฤษฎีการเรียนรู้ 
1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ

  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
      6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของ               สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
      7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)



การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน

  • กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
  • การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
  • การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
  • ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
  • การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
  • การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี 







► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

          สามารถนำความรู้เรื่องนักฤษฎีและเกมมาใช้ในการประยุกต์ใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน


► การประเมินผล

● ประเมินตนเอง

           วันนี้ตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการทำงานกับเพื่อนๆ

● ประเมินเพื่อน

          เพื่อนๆ ทำงานกันเป็นกลุ่มได้ดี มีการแบ่งหน้าที่และช่วยเหลือกันและกัน


● ประเมินอาจารย์

          อาจารย์สอนดี อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนอย่างละเอียด และมีกิจกรรมทำให้สนุกสนานกับการเรียน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น