เรื่อง ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ กับแบบสืบเสาะหาความรู้
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบ
1) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 50 คน จาก 15 โรงเรียนของกลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1
ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน (two stage sampling) คือ
ขั้นที่ 1 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลากใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มจาก 15 โรงเรียน ให้เหลือ 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น จำนวนเด็กปฐมวัย 28 คน และโรงเรียนวัดคูบัว จำนวนเด็กปฐมวัย 22 คน
ขั้นที่ 2 สุ่มอย่างง่ายโดยการจับสลาก เพื่อเลือกวิธีการจัดประสบการณ์ ได้แก่ โรงเรียนวัดวังน้ำเย็น เป็นกลุ่มที่1ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และโรงเรียนวัดคูบัว เป็นกลุ่มที่ 2 ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
2) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
3) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.813 วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที
ขั้นตอนดําเนินการทดลอง
ในขั้นตอนการทดลอง ผู้วิจัยนําเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2556 โดยมีขั้นตอนการทดลองดังนี้
1. ดําเนินการสอบก่อนเรียน (pre - test)
กับนักเรียนทั้งสองกลุ่ม แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกันทั้งสองกลุ่ม
2. ผู้วิจัยได้ดําเนินการทดลองสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้กับกลุ่มทดลอง
ได้แก่
1.) กลุ่มทดลองที่ 1 โรงเรียนวัดวังน้ําเย็น กลุ่ม
โรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์จังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้
แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ
จํานวน 4 แผน ใช้เวลา 6 สัปดาห์สัปดาห์ละ 4 วัน
วันละ 40 นาที
2) กลุ่มทดลองที่ 2 โรงเรียนวัดคูบัว
กลุ่มโรงเรียนเก้าสุพรรณิการ์จังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้
แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหา
ความรู้จํานวน 24 แผน ใช้เวลา 6 สัปดาห์สัปดาห์ละ
4 วัน วันละ 40 นาที
3. เมื่อเสร็จสิ้นการดําเนินการตามที่
กําหนดไว้แล้วทําการทดสอบหลังเรียน (post - test)
กับนักเรียนทั้งสองกลุ่ม ด้วยแบบทดสอบวัดทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็น
แบบทดสอบชุดเดียวกันทั้งสองกลุ่ม
4. นําแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ไปวิเคราะห์โดยวิธีการทาง
สถิติเพื่อทดสอบสมมุติฐานต่อไป
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดําเนินการ
วิเคราะห์ข้อมูลตามลําดับขั้นตอน
1. วิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ โดยใช้สถิติการ
ทดสอบที (t-test แบบ dependent)
2. วิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ก่อนและหลังการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้
สถิติการทดสอบที (t-test แบบ dependent)
3. วิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัย
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ ไม่แตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น