บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันที่ 12 เดือนกันยายน พ.ศ.2560
► ความรู้ที่ได้รับ
นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
วันนี้เพื่อนๆได้นำเสนอวิจัยเรื่อง ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจำแนกรายทักษะก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยวัยจำแนกรายทักษะ การวิจัยครั้งนี้เป็นการจัดการเรียนรู้เพื่อมุ่งให้เด็กได้รับการฝึกฝน และพัฒนาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อความหมาย และทักษะการลงความเห็น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยชายหญิงอายุระหว่าง5-6ปีอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที2ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวัดยางสุทธาราม กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ห้องเรียน จำนวน 120 คน
สรุปผลการวิจัย
หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับดีมากขึ้น
สามาถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : https://spupapitt.blogspot.com/
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
- การเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนสถานะของแข็งเป็นของเหลว ไม่มีอะไรอยู่ค้ำฟ้า แต่บางอย่างนานมากถึงจะเปลี่ยน เช่น โฟม
- ความแตกต่าง (Variety) มนุยษ์สร้างขึ้นมาบล็อคเดียวกันแต่ก็ยังมีความแตกต่างกัน เช่น แฝด
- การปรับตัว (Adjustment) เช่น ภาคอีสานอากาศร้อนสร้างบ้านมีหน้าต่างงเยอะ สมัยก่อนหาของกินในป่ายากขึ้นเลยต้องปลุกกินเอง- พึ่งพาอาศัยกัน (mutually) นกเอี้ยงและควาย- ความสมดุล (Equilibrium) เป็นไปตามวิถีชีวิต ถ้ามนุษย์จับแมลงในสวนหรือไร่นาเพลี้ยก็จะมากิน ก็ต้องไม่จับเพื่อให้เกิดความสมดุล ถ้ามากเกินไปจะไม่ดี
องค์ประกอบของวิทยาศาสตร์
1.องค์ประกอบด้านความรู้(เนื้อหา)
- จะต้องเป็นความรู้ของธรรมชาติ
- หาความรู้แบบวิทยาศาสตร์ (การทดลอง)
- ความรู้ที่ผ่านการทดสอบยืนยันแล้วว่าเป็นจริง
2.องค์ประกอบด้านเจตคติ
3.องค์ประกอบด้านกระบวนการ
ความรู้วิทยาศาสตร์จำแนกเป็น 5 ประเภท
1.ข้อเท็จจริง (Fact) เช่น
- น้ำตาลละลายในน้ำได้
- น้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ - พืชที่ไม่ได้รับแสง ใบและลำต้นจะมีสีขาวซีด
2.มโนมติหรือความคิดรวบยอด (Concept)
- แมวเป็นสัตว์มี 4 ขามีขน เลี้ยงลูกด้วยนม - แมลงคือสัตว์ที่มี 6 ขาและลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน3.หลักการ (Principle) - ก๊าซเม่อได้รับความร้อนจะขยายตัว - ขั้วแม่เหล็กเหมือนกันจะผลักกัน ขั้วแมื่เหล็กต่างกันจะดูดเข้าหากัน4.กฎ (Law) เช่น - น้ำเมื่อเย็นลงจนเป็นน้ำแข็ง ปริมาตรของน้ำจะมากขึ้น - วัถุเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่งหรือจะเปลี่ยนแปลงความเร็วจะต้องมีแรงภายนอกไปกระทำ5.ทฤษฎี (Theory) ดังนั้นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จึงประกอด้วยข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด สมมติฐาน กฎหรือหลักการ และทฤษฎี ซึ่งแต่ละองค์ประกอบเป็นความรู้จากธรรมชาติ เป็นควาจริงและที่ยอมรับทั่วไป สำหรับเด็กเป็นความรู่เบื้องต้น ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง คิดรวบยอด อาจไปถึงหลักการบ้าง ถ้ามีการทดลอง การเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยมีเครื่องมือคือประสาทสัมผัสทั้ง 5 วิธีการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (scientific Method)
- ขั้นสังเกต (Observation)
- ขั้นตั้งปัญหา(State Problem)
- ขั้นตั้งสมมติฐาน (Testing Hypotheses) - ขั้นสรุป(Conclusion)
เจตคติทางวิทยาศาสตร์
- นักวิทยาศาสตร์ยึดมั่นในอิสระและเสรีภาพแห่งความคิด เคารพความจิงและข้อเท็จจริง ออดทนรอคอยความรู้จากความพยายามของตน ทำงานด้วยความรักความชอบ ในสิ่งที่ตนเองทำมีผลหรือไม่มีผลประโยชน์ก็ไม่ได้สนใจ
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความเพีรพยายาม
- ความมีเหตุมีผล
- ความซื่อสัตย์
- ความมีระเบียบและรอบคอบ
- ความใจกว้าง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา
- ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
- ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
- ทักษะการพยากรณ์ จากประสบการณ์เดิม
ทักษะขั้นผสมหรือบูรณาการ
- ทักษะการตั้งสมมติฐาน
- ทักษะการกำหนดนิยามเชิมปฏิบัติการ
- ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
- ทักษะการทดลองทักษะการตีความข้อมูลและลงสรุปข้อมูล
► การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถใช้จัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้สมบูรณ์ได้
► การประเมินผล
● ประเมินตนเอง
ไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากป่วย
● ประเมินเพื่อน
อ้างอิงจากบล็อกของนางสาวชลาธิป สุนิหู
● ประเมินอาจารย์
-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น